ในสมัยก่อนเวลาทำบุญบ้านหรืองานบุญต่างๆ มักจะเตรียมของที่ทำอาหารไว้จำนวนมาก ในสมัยก่อนการนำเอาแกงต่างๆ ที่เหลืออยู่ในหม้อ (หลังจากที่ตักรับประทานอิ่มแล้ว) รวมทั้งผักและเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่เหลือจากการเตรียมมาทำแกงโฮะ ซึ่ง “โฮะ” เป็นภาษาเหนือ หมายถึง เอามารวมกัน คนไทยในแต่ละภาคมีวิธีการรับประทานผักอย่างหลากหลายแล้วแต่จะดัดแปลงกรรมวิธีอย่างไร แกงโฮะก็เป็นอาหารที่ปรุงจากผักหลายชนิดคล้ายกับอาหารหลายๆ อย่างของคนไทยภาคอื่นๆ ถ้าหากนึกถึงแกงก็มักจะนึกภาพแกงที่มีน้ำแกง จะมากน้อยหรือขลุกขลิกก็แล้วแต่ ส่วนแกงโฮะจะเป็นแกงที่แห้งๆ คล้ายผัด ซึ่งก็เป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของแกงโฮะ
เครื่องปรุง หมูสามชั้น | 100 กรัม | เนื้อไก่ | 100 กรัม | มะเขือเปราะ | ½ ถ้วย (100 กรัม) | มะเขือพวง | ½ ถ้วย (100 กรัม) | มะเขือยาว | 1 ลูก (200 กรัม) | ถั่วฝักยาว | 6 ฝัก (100 กรัม) | ตำลึงเด็ดใบอ่อน | 2 ถ้วย (100 กรัม) | หน่อไม้เปรี้ยว | 300 กรัม | ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ | ¼ ถ้วย (30 กรัม) | ผักชี ต้นหอม หั่นหยาบ | อย่างละ 1 ต้น (30 กรัม) | พริกขี้หนูทอด | 10 เม็ด (5 กรัม) | แตงกวา | 5 ลูก (200 กรัม) | วุ้นเส้นแช่น้ำตัดสั้น | ½ ถ้วย (300 กรัม) | สะระแหน่เด็ดเป็นใบ | ¼ ถ้วย (30 กรัม) | ใบโหระพา | 1 กิ่ง (5 กรัม) | น้ำมัน | ¼ ถ้วย (45 กรัม) |
เครื่องปรุงเครื่องแกง พริกแห้งแช่น้ำ | 5 เม็ด (10 กรัม) | หอมแดงซอย | 3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม) | เกลือป่น | 2 ช้อนชา (15 กรัม) | กระเทียมซอย | 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) | ตะไคร้หั่นฝอย | 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) | กะปิ | 1 ช้อนชา (8 กรัม) |
วิธีทำ
1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดรวมกันให้ละเอียด
2. ล้างหมู ไก่ หั่นชิ้นบาง ล้างมะเขือพวง มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว และมะเขือยาว หั่นถั่วฝักยาวเป็นท่อน 1/2 นิ้ว หั่นมะเขือยาวเป็นท่อน 1/2 นิ้ว แล้วจึงผ่าครึ่ง มะเขือเปราะผ่าสี่
3. ใส่น้ำมันในกะทะ ตั้งไฟให้ร้อนใส่เครื่องแกงผัดให้หอม ใส่หมู ไก่ ผัดให้เข้ากัน ใส่หน่อไม้เปรี้ยวใช้ไฟอ่อนเคี่ยวสักครู่ ใส่วุ้นเส้นผัดให้เข้ากัน
4. จัดใส่จาน โรยใบสะระแหน่วางพริกขี้หนูทอดด้านข้างรับประทานกับใบโหระพา แตงกวา หั่นเป็นแว่น
สรรพคุณทางยา
1. มะเขือเปราะ รสขมเล็กน้อย กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ ช่วยบำรุงธาตุ
2. มะเขือพวง รสขมเฝื่อนเปรี้ยวเล็กน้อย แก้ไอ ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ
3. มะเขือยาว รสขื่น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้
4. ถั่วฝักยาว รสมันหวาน มีคุณค่าทางอาหารสูง กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้บำรุงธาตุดิน
5. ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน (แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ)
6. หน่อไม้ รสขมหวานร้อน ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย
7. ผักชีฝรั่ง รสจืด กลิ่นหอม ขับลม ดับกลิ่นคาว
8. ผักชี ช่วยละลายเสมหะ แก้หัด ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เจริญอาหาร
9. หอมแดง รสเผ็ดร้อนแก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
11. แตงกวา รสจืด เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ บำรุงผิวพรรณ
12. สะระแหน่ รสหอมร้อน ใบ/ยอดอ่อน ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
13. โหระพา รสเผ็ดปร่าหอม แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ
14. กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียม มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
15. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ และ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
ประโยชน์ทางอาหาร
แกงโฮะเป็นอาหารของภาคเหนือ ที่ได้จากผักหลายอย่างมารวมกัน จะได้รับวิตามิน แร่ธาตุจากผักต่างๆ รวมทั้งโปรตีน และพลังงาน วุ้นเส้นจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ อีกทั้งยังได้คุณค่าอาหารโปรตีนเพราะผลิตจากถั่วเขียว |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น